โครงงานวิทยาศาสตร์  ประเภททดลอง
เรื่อง     เจลล้างมือจากว่านหางจระเข้

ผู้จัดทำโครงงาน
นางสาวพัชสุดา  ปาสาตัง  เลขที่ 15
นางสาวสุชานาถ  แสนอุด  เลขที่  21
นางสาวสุพิชญา  แตงอ่อน  เลขที่  25
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1                              

ครูที่ปรึกษาโครงงาน
อาจารย์คณน  สิริโชคเจริญ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
วิชาคอมพิวเตอร์ รหัส  ง33203 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา2560
โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม





บทคัดย่อ

            โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เจลล้างมือจากว่านหางจระเข้ จัดทำขึ้นเพื่อที่เราจะนำวุ้นหรือเจลที่อยู่ภายในว่านหางจระเข้มาทำเจลล้างมือและเพื่อที่จะลดการใช้สารเคมีจากการทำเจลล้างมือ โดยเราสามารถแบ่งเป็นการทดลองออกเป็น  2 ตอนคือ
ตอนที่ 1 : นำว่านหางจระเข้มาปลอกเอาเปลือกออกแล้วฝานเอาวุ่นข้างในว่านหางจระเข้ออกมาจำนวน 300 ml หลักจากนั้นนำเนื้อวุ่นมาปั่นให้ละเอียดแล้วนำมากรองแยกกากแยกวุ้นออกจากกัน
ตอนที่ 2 : นำเจลที่ได้มาตวงจำนวนในถ้วยตวงจำนวน 380 ml จากนั้นนำเอทิลแอลกอฮอล์ที่เตรียมไว้แล้วมาตวงในถ้วยจำนวน 180 ml

          สรุปได้ว่า  เจลจากว่านหางจระเข้นั้นสามารถทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น  รักษาแผลสมานแผลช่วยในการต่อต้านเชื้อแบททีเรียได้ โดยที่เราก็ใช้สารเคมีในปริมาณที่น้อยกว่าเจลล้างมือที่วางขายที่อยู่ในท้องตลาดและเจลล้างมือที่ได้ก็สามารถที่จะล้างมือให้สะอาดโดยที่จะไม่ต้องใช้น้ำและสบู่ซึ่งใช้ได้ดีเหมือนกับเจลล้างมือที่ขายในท้องตลาดไม่แพ้กันเลยก็ว่าได้









กิตติกรรมประกาศ

             โครงงานเรื่อง เจลล้างมือจากว่านหางจระเข้ จะสำเร็จลุล่วงไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากบุคคลดังต่อไปนี้  คือ  คุณแม่นารี  ไปมา ที่ช่วยให้คำปรึกษาช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน
ขอขอบคุณชาวบ้าน บ้านบมทุ่ง บ้านหัวเรือและบ้านกุดอ้อ สำหรับว่านห่างจระเข้ที่นำมาใช้ทำเจลล้างมือของคณะผู้จัดทำทุกคนและชุมชนที่ให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ คณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ ณ โอกาสนี้




                                                                                                                    คณะผู้จัดทำ
                                                                                                                               นางสาวพัชสุดา  ปาสาตัง
                                                                                                                               นางสาวสุชานาถ  แสนอุด
                                                                                                                               นางสาวสุพิชญา  แตงอ่อน






สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                หน้า
บทคัดย่อ                                                                                                                                    
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                        
สารบัญ                                                                                                                           
บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                                                                           
 จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า                                                                                             
 สมติฐาน                                                                                                                                    
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า                                                                                                     
นิยามศัพท์เฉพาะ                                                                                                                    
 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า                                                                                          
บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า                                                                                        
ว่านหางจระเข้                                                                                                       
เอทิลแอลกอฮอล์                                                                                                            
บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการศึกษา                                                                                
วัสดุ อุปกรณ์                                                                                                         



วิธีดำเนินการศึกษา                                                                                                      
บทที่ 4 ผลการศึกษา                                                                                                                     
 แผนภูมิรูปแท่ง                                                                                                                     
 แผนภูมิรูปวงกลม                                                                                                         
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สรุปผล  อภิปรายผล ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                                         
 ภาคผนวก                                                                                                                                
 อ้างอิง                                                                                                                            












บทที่1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
เจลล้างมือหรือสารที่ใช้ล้างมือ hand  sanitizer คือสิ่งที่ใช้ทำความสะอาดมือ และเป็นเครื่องเสริมหรือทางเลือกอีกช่องทางหนึ่งที่เราจะไม่ต้องใช้น้ำและสบู่เหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันโดยอาจอยู่ในรูปของเจลหรือโฟมหรือจะเป็นของเหลวชนิดอื่นๆ
          เจลล้างมือในปัจจุบันมีการนำเอาสารเคมีมาใช้เป็นส่วนผสมเป็นจำนวนมากทำให้เราได้รับสารเคมีที่เข้าไปในร่างกาย ถ้าสารเคมีตกค้างแล้วไปสะสมในร่างกายของเราเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้
          ดั้งนั้นกลุ่มของพวกเราจึงมีความสนใจที่จะทำเจลล้างมือจากสมุนไพร ( ว่านหางจระเข้ )เพื่อที่จะทดลองใช้ล้างมือ

จุดมุ่งหมายที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า/วัตถุประสงค์
1. เพื่อทำเจลล้างมือโดยใช้สารเคมีในปริมาณที่น้อยที่สุด
2. เพื่อลดอัตราการสะสมของสารเคมีจากเจลล้างมือที่จะไปสะสมในร่างกาย
3. เพื่อที่จะนำสมุนไพร(ว่านหางจระเข้) มาใช้ทำเจลล้างมือ





สมมติฐาน
1.วุ้นที่ได้จากว่านหางจระเข้นั้นสมารถที่จะนำมาทำเป็นเจลล้างมือได้และใช้สารเคมีที่น้อย
2. เจลล้างมือที่ได้จากว่านหางจระเข้สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องใช้น้ำ
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
ตัวแปรต้น  สมุนไพร (ว่านหางจระเข้) 
ตัวแปรตาม   เจลล้างมือจากว่านหางจระเข้
ตัวแปรควบคุม วุ้นจากว่านหางจระเข้จำนวน 360 ml แอลกอฮอล์จำนวน 180 ml 
นิยามศัพท์เฉพาะ
   เจล คือ เป็นวัสดุคล้ายของแข็ง เกิดจากสารละลายคอลลอยด์ (colloidal solution) มีโครงสร้างแบบร่างแห ที่สามารถเพิ่มปริมาตรเมื่ออยู่ในของเหลว ตัวอย่างของเจลที่กินได้ ได้แก่เจลาติน โดยมากมีสมบัติเป็นของเหลวเมื่อถูกกวน และสามารถกลับเป็นของแข็งเมื่อปล่อยทิ้งให้พัก
ขอบเขตการศึกษา
ทำการศึกษาว่านหางจระเข้และนำมาผลิตทำเป็นเจลล้างมือ







บทที่2
                                                                 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการทำโครงงานประเภททดลอง เรื่องเจลล้างมือจากว่านหางจระเข้ ในครั้งนี้คณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.      ว่านหางจระเข้
2.      แอลกอลล์ฮอล

ส่วนที่ใช้ : ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้า
อาณาจักร : Plantae
หมวด : Magnoliophyta
ชั้น :  Liliopsida
อันดับ : Asparagales
วงศ์ :  Asphodelaceae
สกุล : Aloe
สปีชีส์ : A. vera




ว่านหางจระเข้สมุนไพรไทย ๆ ที่มีหน้าตาละม้ายคล้ายกับหางแหลม ๆ ของจระเข้ จนได้ชื่อเรียกที่บ่งบอกถึงลักษณะได้ดีว่า ว่านห่างจระเข้ คืออีกหนึ่งพรรณไม้ไทยที่นิยมปลูกไว้ติดบ้าน นอกจากจะใช้ประดับตกแต่งเพื่อความสวยงามแล้ว สรรพคุณต่าง ๆ ของว่านหางจระเข้ยังคุ้มค่าอีกด้วย ส่วนจะมีทีเด็ดขนาดไหนนั้น เราไปทำความรู้จักกับว่านหางจระเข้ให้มากขึ้นกันดีกว่า ..
         ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) คือ พืชชนิดหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในประเภทพืชล้มลุก สีเขียว มีลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้อง ใบเดี่ยว ใบหนายาวและโคนใบใหญ่ ปลายแหลม ขอบใบมีหนามห่างกันเป็นระยะ เรียงเป็นชั้น ข้างในใบเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน มีเมือกเหนียว สามารถออกดอกสีแดงอมเหลืองที่ปลายยอดได้ มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา สามารถปลูกได้ง่ายในดินทราย หรือในกระถางก็ได้ เป็นพืชชอบน้ำ แต่ต้องมีทางระบายน้ำได้ดี ป้องกันไม่ให้อมน้ำมากเกินไปจนรากเน่า
สรรพคุณว่านหางจระเข้
          ว่านหางจระเข้นั้น จัดเป็นพืชที่มีสรรพคุณต่าง ๆ มากมาย สามารถใช้บรรเทาโรคทั้งภายนอกและภายในร่างกาย อีกทั้งยังใช้บำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย ดังนี้
ประโยชน์ภายนอก
       1.รักษาแผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก โดยปอกเปลือกนอก นำวุ้นสดภายในใบไปล้างยางออกให้สะอาด แล้วนำไปประคบแผลตลอด 2 วันแรก จะช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน สมานแผลให้เร็วขึ้น และไม่ทิ้งร่องรอยแผลเป็นอีกด้วย
        2.ป้องกันและบรรเทารอยไหม้จากการออกแดด นำใบสด ๆ ของว่านหางจระเข้ผสมกับโลชั่นทาลงบนผิวหนังก่อนออกแดด จะช่วยป้องกันแสงแดดได้ แต่ถ้าหากเกิดรอยไหม้ขึ้นบนผิวหนังหลังออกแดดแล้ว ให้ใช้วุ้นที่ล้างสะอาดมาทาเพื่อลดอาการอักเสบ ถ้าจะให้ดีลองผสมกับน้ำมันพืช หรือ น้ำมันมะกอก เพื่อลดอาการผิวแห้งตึงจนเกินไป
           3.บรรเทารอยไหม้จากการฉายรังสีของผู้ป่วย โดยใช้วิธีการนำวุ้นว่านหางจระเข้ที่ล้างสะอาดมาประคบที่รอยไหม้จากการทำคีโม จะช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน และทำให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น
           4.สมานแผลจากของมีคมและแผลถลอก หากได้รับบาดเจ็บจากของมีคม ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ยังมีเมือกอยู่ แปะลงไปบนแผล จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสมานแผลให้เร็วขึ้นได้
         5.รักษาฝีและโรคริดสีดวงทวาร ทำความสะอาดบริเวณที่เกิดโรคให้แห้งแล้ว นำวุ้นไปแปะลงบนแผล หากเป็นทวารหนักให้ปอกวุ้นให้เป็นแท่งแล้วล้างให้สะอาด นำไปแช่เย็นให้แข็ง เพื่อสอดเหน็บในช่องทวารหนักวันละ 1-2 ครั้ง อาการริดสีดวงจะดีขึ้น
           6. รักษาตาปลาและฮ่องกงฟุต นำเนื้อวุ้นที่ล้างทำความสะอาดแล้ว ไปแปะลงบริเวณที่เกิดโรค หมั่นเปลี่ยนเนื้อวุ้นบ่อย ๆ โดยหากเป็นตาปลาส่วนที่แห้งลงจะเกิดรูบุ๋มขึ้น ให้ใช้ว่านหางจระเข้ประคบต่อไปจนกว่ารอยบุ๋มจะสมานและเล็กลง ส่วนฮ่องกงฟุตให้ด้วยว่านหางจระเข้เอาไว้จนกว่าแผลจะแห้งลงและอาการดีขึ้น
            7. แก้ปวดศีรษะ ตัดใบสดจากต้นว่านหางจระเข้ แล้วนำปูนแดงทาบริเวณวุ้น ถือใบสดแล้วนำวุ้นผสมปูนแดงประคบบริเวณขมับหรือท้ายทอย ตามจุดที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้
            8. บรรเทาอาการปวดฟัน ตัดเนื้อว่านหางจระเข้ออกเป็นแท่งเล็ก ๆ ประมาณ 2-3 เซ็นติเมตร นำไปเหน็บไว้ตามซอกฟันที่มีอาการปวด หรือประคบไว้ก็ได้ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที อาการปวดจะค่อย ๆ บรรเทาลง
 ประโยชน์ภายใน
           1.บรรเทาอาการปวดข้อ นำวุ้นว่านหางจระเข้ที่ล้างทำความสะอาดแล้วไปแช่ตู้เย็น และรับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อต่าง ๆ โดยสามารถใช้ได้ทั้งเนื้อวุ้น และน้ำวุ้น หากอยากให้รับประทานง่ายขึ้น สามารถนำไปปั่นเป็นน้ำว่านหางจระเข้ ก็ช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน
           2. ใช้เป็นยาถ่าย โดยเลือกตัดว่านหางจระเข้พันธุ์เฉพาะที่ใบใหญ่และมีน้ำยางสีเหลืองในปริมาณมาก อายุประมาณ 9 เดือนขึ้นไป รองน้ำยางที่ไหลออกมาจากใบ แล้วนำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ขนาดเล็กให้แข็งเป็นก้อนรับประทานเป็นยาได้ ซึ่งเม็ดยาจะมีสีแดงอมน้ำตาลไปจนถึงดำ เรียกว่า ยาดำ แบ่งรับประทานครั้งละประมาณ 0.25 กรัม (250 มิลลิกรัม) จะเป็นขนาดที่เหมาะสมในการใช้เป็นยาถ่าย หากต้องการรับประทานแบบสด ๆ ก็สามารถทำได้ โดยการตัดวุ้นที่ล้างสะอาดแล้วออกเป็นขนาด 3-4 เซ็นติเมตร แบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร
           3. แก้กระเพาะอักเสบและลำไส้อักเสบ ปอกเปลือกว่านหางจระเข้ นำวุ้นที่ได้ไปล้างให้สะอาด แล้วนำมารับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบของทางเดินอาหารได้
           4. ป้องกันโรคเบาหวาน ตัดเนื้อว่านหางจระเข้ความยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร นำไปรับประทานทุกวัน หรือจะปั่นเป็นน้ำว่านหางจระเข้ เพื่อรับประทานก็ได้ โดยอาการเบาหวานจะทุเลาลงสำหรับผู้ที่เป็นในระยะแรก ส่วนผู้ที่ต้องการรับประทานเพื่อป้องกัน สามารถรับประทานในปริมาณที่น้อยลงได้
           5.แก้และป้องกันอาการเมารถเมาเรือ ท่านที่มีปัญหาในการเดินทาง เกิดอาการเมารถเมาเรืออยู่เป็นประจำ ให้ลองรับประทานเนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้ หรือน้ำว่านหางจระเข้ ก่อนออกเดินทางจะช่วยบรรเทาให้เกิด
อาการดังกล่าวน้อยลงได้ แต่หากเกิดอาการเมารถเมาเรือขึ้นแล้ว ลองทานน้ำว่านหางจระเข้เย็น ๆ ให้ชื่นใจ แล้วนั่งพักสักครู่ จะรู้สึกดีขึ้น
 ประโยชน์ด้านความงาม
           1.บำรุงเส้นผมให้เงางามและช่วยขจัดรังแค ตัดใบสดมาทาลงบนเส้นผม หรือถ้าไม่สะดวกให้นำวุ้นว่านหางจระเข้ไปปั่นให้ละเอียดจะได้ใช้ง่ายขึ้น จากนั้นนำมาชโลมผมให้ทั่วเพื่อให้ผมสลวยเงางาม หากนวดบริเวณรากผมจะช่วยให้รากผมเย็นลง ช่วยบำรุงหนังศีรษะ รักษาแผลบนศีรษะ และขจัดรังแคได้ด้วย
           2.รักษาสิวและรอยด่างดำ ประโยชน์ข้อนี้คนที่อยากหน้าใสตั้งใจอ่านให้ดี เพราะว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการติดเชื้อ และมีกรดอ่อน ๆ ช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ นำเนื้อวุ้นที่ล้างสะอาดทาบริเวณใบหน้าวันละ 2 ครั้ง ใช้เวลาสัก 1-2 เดือน จะเริ่มเห็นผลว่ารอยต่าง ๆ ดูจางลง
           3. บำรุงผิวกาย เพียงแค่นำว่านหางจระเข้สด มาปอกเปลือกและล้างให้สะอาด จากนั้นหั่นเป็นชิ้นนำไปใส่ไว้ในถุงผ้ากอซขนาดเล็ก แล้วนำไปหย่อนไว้ในอ่างอาบน้ำ หรือถ้าไม่มีถุงผ้ากอซ ให้นำวุ้นไปแช่ไว้ในอ่างอาบน้ำเลยก็ได้เหมือนกัน โดยระหว่างอาบน้ำให้ใช้เนื้อวุ้นถูกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เน้นที่รอยแห้งกร้านอย่างข้อศอก หัวเข่า ส้นเท้า เป็นต้น จะช่วยให้ผิวพรรณเนียนนุ่ม และเต่งตึงขึ้น
           4. เติมน้ำให้ผิว ความชุ่มชื้นในผิวหน้าและผิวกาย มักจะค่อย ๆ ลดลงตามวัย และไลฟ์สไตล์ของคุณ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักใช้ชีวิตกันอยู่ในห้องแอร์จนผิวขาดความชุ่มชื้น หากนำเนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้มาพอกหน้าก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยเติมน้ำให้ผิวของคุณได้ โดยล้างวุ้นให้สะอาด แล้วฝานบาง ๆ มาโปะให้ทั่วหน้า หลับตาพริ้มรอสัก 15 นาที ก็ไปล้างหน้าให้สะอาดได้ ผิวของคุณจะรู้สึกชุ่มชื้น เต่งตึงขึ้น หากจะใช้กับผิวกายให้ลองนำเนื้อไปปั่นหยาบ ๆ แล้วนำมาพอกตัว ก็ใช้ง่ายดีเหมือนกัน

สรรพคุณทางยา
               วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-cmidin, Aloesin, Aloin,สารประเภท glycoprotein และอื่นๆ ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่าวุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี เพราะวุ้นใบมีสรรพคุณรักษาแผล ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียช่วยสมานแผลได้ด้วย
ใบ – รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี
ทั้งต้น – รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา
ราก – รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด
ยางในใบ – เป็นยาระบาย
น้ำวุ้นจากใบ – ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น
เนื้อวุ้น – เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร
เหง้า – ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด
ข้อควรระวังในการใช้ว่านหางจะเข้
ถ้าใช้เป็นยาภายใน คือ เป็นยาถ่าย ห้ามใช้กับคนที่ตั้งครรภ์ กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร
ถ้าใช้เป็นยาภายนอก อาจมีคนแพ้แต่น้อยมาก ไม่ถึง 1% (ผลจากการวิจัย) อาการแพ้ เมื่อทาหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแดงเป็นผื่นบางๆ บางครั้งเจ็บแสบ อาการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากทายา 2-3 นาที ถ้ามีอาการเช่นนี้ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำที่สะอาด และเลิกใช้




นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น สามารถแยกแยะสาระสำคัญตัวใหม่ จากใบว่านหางจระเข้ได้ สารตัวใหม่นี้เป็น glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A ได้จดสิทธิบัตรไว้ที่ European Patent Application ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
          นอกจากนี้พบว่า  สารนี้สามารถรักษาโรคได้หลายโรค เช่น มะเร็ง แก้อาการแพ้ รักษาไฟไหม้ และรักษาโรคผิวหนัง
          1. แก้ปวดศีรษะ นำว่านหางจระเข้ตัดให้เป็นแว่นบางๆ  เอาปูนแดงทาที่วุ้น แล้วปิดที่ขมับ จะทำให้เย็นหายปวด
          2. แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้น้ำเมือกจากว่านหางจระเข้รักษา แผลไฟลวก ขนาดรุนแรงที่สุด โดยทาน้ำเมือกที่แผลให้เปียกอยู่เสมอ แผลจะหายรวดเร็วมาก อาการปวดแผลหรือการเกิดแผลเป็นจะมีน้อยมากหรือไม่มีเลย
          3. ผิวไหม้เพราะถูกแดดเผา ใช้วุ้นหางจระเข้ทาบ่อยๆ ช่วยลด อาการปวดแสบปวดร้อน ผิวตึง และลดจำนวนผิวที่ลอก
          4. แผลจากของมีคมและแผลอื่นๆ ทำความสะอาดแผลเสียก่อน แล้วเอาวุ้นปิดลงที่แผลให้สนิท เอาผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงไปให้ผ้าตรงบริเวณที่แผลเปียกอยู่เสมอ ช่วยให้แผลหายเร็ว และลดรอยแผลเป็น
          5. กระเพาะลำไส้อักเสบ รับประทานวุ้นหางจระเข้ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ วันละหลายๆ ครั้ง ใช้ได้ผลในรายที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืออวัยวะอื่น ในทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ
          6. บำรุงผมและหนังศีรษะ ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ชโลมผมให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้แห้ง รุ่งเช้าจึงใช้น้ำล้างออก ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม หวีง่ายขึ้น และรักษาแผลบนหนังศีรษะ ( ก่อนใช้ควรทดลองก่อนว่า แพ้ว่าน หรือไม่ และควรใช้แต่น้อยดูก่อน ที่สำคัญอย่าให้ยางถูกผมเพระายางจะ กัดหนังหัว)
         7. ป้องกันการติดเชื้อ ใช้วุ้นหางจระเข้ ทาแผลรักษาแผลติดเชื้อได้ ทำให้แผลดีขึ้น ภายใน ๑๒ ชั่วโมง
               8. ผื่นคันที่เกิดจากการแพ้สารต่างๆ เนื่องจากวุ้นหางจระข้จะมีฤทธิ์ระงับปวด จึงช่วยลดอาการคันด้วย และยังช่วยให้ผื่นคันหายเร็ว
          9. ขี้เรือนกวาง และผื่นปวดแสบปวดร้อน ใช้วุ้นหางจระเข้ กินวันละ ๑-๒ ครั้งๆ ละ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ และทาควบคู่กันไป ว่านหางจระเข้ เป็นยาฝาดสมาน อาจทำให้ผิวแห้งได้ จึงควรผสมน้ำมันทาผิว หรือ น้ำมันอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย
         10. ลบรอยแผลเป็น ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทา เช้า-เย็น จะลดรอย แผลเป็น
         11. ลบท้องลายหลังคลอด ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาผิวท้อง ขณะตั้ง ครรภ์ แม้หลังคลอดแล้วก็ควรใช้ทาต่อเพื่อช่วยให้ผิวหน้าท้องกลับคืนสู่ สภาพปกติ คนที่เคยใช้ยืนยันว่าได้ผลดี
         12. เส้นเลือดดำขอดที่ขา ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาที่บริเวณเส้นเลือด ดำขอด และมีบางคนใช้ได้ผลดีมาก
         13. มะเร็งที่ผิวหนัง ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาวันละ ๒-๔ ครั้ง เป็นเวลาหลายเดือน
         14. แผลครูดและแผลถลอก ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาเบาๆ ให้ทั่วใน ๒๔ ชั่วโมงแรก ทาบ่อยๆ แผลจะไม่ค่อยเจ็บและหายเร็วมาก
         15. โรคปวดตามข้อ รับประทานวุ้นว่านหางจระเข้ เป็นประจำจะหาย ปวดได้
2.เอทิลแอลกอฮอล์
เอทิลแอลกอฮอล์โครงสร้างของแอลกอฮอล์นี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความเคมีเคมีอินทรีย์
                                           
สถานีย่อยเคมีอินทรีย์
             ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (อังกฤษ: alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าแอลกอฮอลิซึ่ม (alcoholism—โรคพิษสุราเรื้อรัง) เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล)
อันตรายจากแอลกอฮอล์
           ตามท้องตลาดในขณะนี้ มีการขายแอลกอฮอล์กันทั้งเมทิลแอลกอฮอล์และเอทิลแอลกอฮอล์ เมื่อมีผู้บริโภคไปซึ้อแอลกอฮอล์เช็ดแผลจากร้านขายยา ผู้ขายมักจะหยิบแอลกอฮอล์มาให้เลือกทั้ง 2 ชนิด ราคาเอทิลแอลกอฮอล์จะสูงกว่าเมทิลแอลกอฮอล์เล็กน้อย เพราะฉะนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่และโดยเฉพาะผู้ที่ไม่รู้คุณสมบัติที่แท้จริงของแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มักจะเลือกชนิดที่ราคาถูกกว่า เพราะประหยัดเงิน และเข้าใจว่ามีคุณสมบัติเช็ดแผลได้เหมือนกัน แต่อันที่จริงแล้วคุณสมบัติของเอทิลแอลกอฮอล์ต่างกันมาก คือ เอทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์ได้ เช่น ผสมในยารับประทาน ผสมในสุราหรือเครื่องดื่มประเภทของมึนเมาหรือใช้ทาภายนอกร่างกาย เช่น ล้างแผล ผ้าเย็น กระดาษเช็ดหน้า สเปรย์ เป็นต้น
เมทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ชนิดมีพิษ ใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆเช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดให้แสงสว่าง หรือปนกับทินเนอร์ สำหรับผสมแลคเกอร์ แต่ห้ามใช้กับร่างกาย จากคุณสมบัติของเมทิลแอลกอฮอล์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ควรนำเอาแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มาใช้แทนกัน เพราะจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายได้ เนื่องจากเมทิลแอลกอฮอล์หากนำมาใช้ล้างแผล แอลกอฮอล์จะซึมเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้ผู้ดื่มตาบอดหรือถึงตายได้  ถึงแม้ว่าทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะควบคุม และตักเตือนผู้ผลิตและผู้ขายให้ระมัดระวังการนำเมทิลแอลกอฮอล์มาใช้ไม่ให้ผิดจากคุณลักษณะประจำของตัวมันแล้ว แต่ยังมีการใช้หรือขายผิดประเภทอยู่บ้าง  ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงใคร่ขอเตือนผู้ผลิตและผู้ขาย ขอให้ใช้ความระมัดระวังในการขายเมทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งจะเป็นพิษต่อผู้บริโภคได้ และขอให้แนะนำผู้บริโภคว่าก่อนซื้อแอลกอฮอล์เช็ดแผลทุกครั้งควรตรวจดูฉลากให้ละเอียดและเลือกชนิดที่เป็นเอทิลแอลกอฮอล์เท่านั้นและทางที่ดีถ้าท่านไม่แน่ใจก็ควรซื้อแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อที่กระทรวงสาธารณสุขรับรองหรือซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของท่านและครอบครัว
แอลกอฮอล ที่ใช้ทำความสะอาดผิวหนังมีอีกอย่าง isopropyl alcohol บางแห่งเลิกใช้ ethyl alcohol เพราะ ethyl alcohol (หรือ ethanol) ราคาแพงเนื่องจากเอาไปกินแบบเหล้าได้ รัฐบาลของแต่ละประเทศจึงเก็บภาษี แอลกอฮอลแบบนี้ เหมือนเก็บภาษีเหล้า ในกรณีที่ต้องใช้ ethyl alcohol (ethanol) ในทางอุตสาหกรรม เขาจะแปรสภาพให้กินไม่ได้ โดยเติมสารเป็นพิษเข้าไปเช่นเติม methyl alcohol (methanol) กินแล้วตาบอด ฯลฯ เติมสีเช่นสีม่วง แต่ก็ยังมีคนไม่รู้เท่าหรือจนตรอกเต็มทีดื่ม เลยมีการเติมสารบางอย่างที่ทำให้ขมจนดื่มไม่ลง เช่น pyridine ถ้าเติมสารเจือปนลงไปเขาจะเรียกว่า denatured alcohol ไม่เสียภาษีแบบเหล้าทำให้ถูกลงมาก ใช้เป็นเชื้อเพลิง เป็นตัวทำละลายแชลแล็คที่ใช้เคลือบเฟอร์นิเจอร์ หรือเป็นตัวทำละลายน้ำยาย้อมสีไม้เพราะแอลกอฮอลไม่ทำให้เนื้อไม้พอง (grain raising) ไม่ต้องลงกระดาษทรายซ้ำ ไม่เหมือนใช้สารละลายที่เป็นน้ำที่ย้อมไม้แล้วใยไม้พอง ต้องลงกระดาษทรายอีกทีให้เรียบก่อนลงแล็คเคอร์หรือแชลแล็คได้
ประโยชน์ของแอลกอฮอล์  ( Alcohol)
     -เอทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักของน้ำตาล กับข้าวชนิดต่างๆ ใช้ฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดแผล ขจัดคราบสกปรกจาก แพรพรรณ  และบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแมลงกัดต่อยได้
     -เมทิลแอลกอฮอล์ เป็นตัวต้านปฏิกิริยา  การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง  และสังเคราะห์เคมี หากดื่มเข้าไปจะทำให้ตาบอดได้
     -ล้างมือที่มีกลิ่นหัวหอมติดด้วยแอลกอฮอล์ กลิ่นจะหมดไปอย่างรวดเร็ว
     -เวลาเล่นน้ำทะเล  หากผิวหนังไปโดนแมงกะพรุน  ห้ามใช้น้ำจืดล้างและอย่าถูหรือเกา  ให้ใช้แอลกอฮอล์  เหล้า  น้ำหอม  น้ำด่าง  หรือ แอมโมเนียล้าง จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
     -ใช้น้ำ 1 ส่วน แอลกอฮอล์ 3 ส่วน ผสมกัน นำไปเช็ดถูโคมไฟที่ทำด้วยแก้วเจียระไนจะทำให้เนื้อแก้วใสสะอาด
    - ถูลอยคราบน้ำฝน ที่เปื้อนรองเท้าด้วยแอลกอฮอล์ ที่ใช้จุดไฟเล็กน้อยแล้วขัดตามปกติ
    -ถ้าใช้สเปรย์ฉีดผมทุกวัน น้ำยาที่เหลือจะสะสมบริเวณหัวฉีดทำให้เกิดสนิมสีน้ำตาลได้   แก้โดยใช้ผ้าชุบน้ำแอลกอฮอล์ให้ชื้น  แต่อย่าให้ชุ่มโชกมาก  เช็ดรอบๆ  ก้านหัวฉีด  และระวังอย่ากดหัวฉีดขณะทำความสะอาด
     -ถ้าผ้าเปื้อนยางผลไม้   ใช้สำลี ชุบแอลกอฮอล์ เช็ดตรงลอยเปื้อนยางผลไม้จะหลุดออก แล้วจึงนำไปซักตามธรรมดา                                                                                
      -ถ้ากระเป๋าหนังใส่เสื้อผ้า หรือ รองเท้าหนังมีราขึ้น ให้ใช้แอลกอฮอล์ ผสมน้ำอย่างละครึ่งใช้ผ้าชุบบิดพอหมาด เช็ดให้ทั่วตากไว้ในที่ล่มโกรกลมให้แห้งจึงใช้ผ้าเช็ดอีกทีราจะหมดไป
       -แอลกอฮอล์ที่ใช้ในการจุดไฟเป็นสารที่เป็นอันตรายไวไฟมากมีไอระเหยที่เป็นพิษ ต้องระมัดระวังในขณะที่ใช้ควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัย


บทที่3
                                                                   วิธีดำเนินการ
วัสดุ อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้
1.มีด
2.เครื่องปั่น
3.ถ้วยตวง
4.ที่กรอง
5.ทัพพี
6.กะละมัง
7.ช้อน
8.บรรจุภัณฑ์
9.ว่านหางจระเข้
10.เอทิลแอลกอฮอล์
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. กำหนดปัญหา หาสาเหตุ และกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
       - ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเจลล้างมือ
2. ดำเนินการทดลอง
ส่วนที่ 1 : ฝานเอาวุ้นที่อยู่ในว่านหางจระเข้
         - วางแผนการดำเนินงาน
          - ขั้นตอนการทดสองแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ
           
 ส่วนที่ 2 : นำวุ้นที่ได้ไปปั่น
 ส่วนที่ 3 : นำมากรองเอากากหรือสิ่งที่ปนเปื้อนออก
 ส่วนที่ 4 :  นำเจลที่ได้มาผสมกับแอลกอฮอล์คนให้เข้ากันแล้วนำมาบรรจุขวด
3. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง
4. สรุปและประมวลผล
5.นำไปตกแต่งเป็นฝังโครงงานและจัดอยู่ในรูปแบบรายงาน













ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น